ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
เป้าหมาย
จำนวนเหตุการณ์หรือกรณีบาดเจ็บจากการทำงานถึงขั้นหยุดงานเป็นศูนย์
บริษัทให้ความสำคัญกับความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นอันดับแรกของพนักงานทุกคนในบริษัท รวมถึงผู้รับเหมาหรือบุคคลภายนอกที่เข้ามาดำเนินงานภายในบริษัท
ผู้มีส่วนได้เสีย
พนักงาน, ชุมชน/สังคม


ผลการดำเนินงาน
จำนวนอุบัติเหตุรุนแรงหรือการเสียชีวิต
ลดลงอย่างต่อเนื่อง
จำนวนพนักงานที่บาดเจ็บจากการทำงานจนต้องหยุดงาน
ลดลงเป็นศูนย์
ค่า LTIFR และ LTISR ในปี 2567
ลดลงเป็นศูนย์

โครงการกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม
คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ) ได้จัดกิจกรรม สัปดาห์ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (Safe and Healthy Week) ระหว่าง 21-25 ต.ค. 2567 เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงาน อาชีวอนามัย และการดูแลสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกิจกรรม Big Cleaning Day เมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2567 โดยคณะทำงาน 5ส เพื่อปรับปรุง สภาพแวดล้อมในการทำงานให้สะอาดและเรียบร้อย ทั้งสองกิจกรรมจัดขึ้นที่บริษัท
กิจกรรม/โครงการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

กิจกรรม Big cleaning day

กิจกรรมการอบรม เรื่องการทำงาน กับสารเคมีอย่างปลอดภัย

กิจกรรมอบรมให้ความรู้ความเข้าใจในการสวมใส่ PPE
แผนงานในด้านอื่นๆ
การควบคุมการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย บริษัทควบคุมและตรวจสอบการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย โดยมุ่งหวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ มีอาชีวอนามัยที่ดี และช่วยปกป้องสิ่งแวดล้อมรวมถึงการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน

ป้ายเตือนอันตราย
บริษัทติดตั้งเครื่องหมายความปลอดภัย (safety sign) ตามมาตรฐาน มอก. 635 เพื่อเตือนถึงอันตรายให้กับพนักงานและผู้มาติดต่อ โดยมี 6 ประเภท ได้แก่
- เครื่องหมายห้าม (Prohibition sign)
- เครื่องหมายบังคับ (Mandatory sign)
- เครื่องหมายเตือน (Warning sign)
- เครื่องหมายแสดงภาวะปลอดภัย (No danger sign)
- เครื่องหมายแสดงอุปกรณ์เกี่ยวข้องกับอัคคีภัย (Fire protection equipment sign)
- เครื่องหมายข้อมูลทั่วไป (General Information sign)

การเตรียมพร้อมในภาวะฉุกเฉิน
บริษัทเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีแผนฉุกเฉินต่างๆ เพื่อป้องกัน และลดผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการฟื้นฟูสถานที่ให้กลับสู่ภาวะปกติอย่างรวดเร็ว แผนฉุกเฉินที่จัดเตรียมไว้ ได้แก่:
- แผนป้องกันอัคคีภัยและอพยพหนีไฟ
- แผนป้องกันสารเคมีหกรั่วไหล
- แผนป้องกันหม้อไอน้ำระเบิด
- แผนระงับภัยน้ำท่วมและพายุ
- แผนระงับเหตุการณ์ก่อการร้าย

ฝึกอบรมและซ้อมแผนฉุกเฉิน
ในปี 2567 บริษัทได้มีกิจกรรมฝึกอบรมและซ้อมแผนฉุกเฉินแก๊สรั่วไหล จากผู้เชี่ยวชาญการดับเพลิงทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยพนักงานทุกคนสามารถดำเนินการฝึกซ้อมได้ตามแผนที่กำหนด และได้เข้ารับการอบรมจากผู้เชี่ยวชาญการดับเพลิงทั้งทฤษฎี และปฏิบัติในวันที่ 25 ตุลาคม 2567
- กิจกรรมฝึกอบรมและซ้อมแผนฉุกเฉินแก๊สรั่วไหล จากผู้เชี่ยวชาญการดับเพลิงทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
- กิจกรรมอบรมดับเพลิงขั้นต้น: พนักงาน 29 คน จาก 35 คน (96.6%)
- กิจกรรมฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ: พนักงาน 133 คน (100%)
แผนงานปัจจุบัน และอนาคต
ในกระบวนการผลิตได้ดำเนินงานโครงการต่างๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมต่อพนักงานและชุมชนสังคมรอบข้างโรงงาน

โครงการที่ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
- การติดตั้งระบบไซโคลนสำหรับไลน์บรรจุกาวที่ BC301 เพื่อช่วยลดระยะเวลาการทำงานของพนักงาน และป้องกันฝุ่นละออง
- บริษัทดำเนินการเปลี่ยนหลอดไฟกันระเบิด เพื่อความเสี่ยงต่อการเกิดประกายไฟภายในโรงงาน

แผนและโครงการอื่นๆ ในปี 2568
- ติดตั้ง Dust Collector เพื่อลดและดักจับฝุ่นจากกระบวนการผลิตกาวโซลเว้นท์
- ติดตั้ง Dry Scrubber ลดไอระเหยและกลิ่นจากกระบวนการผลิต SVBA เพื่อป้องกันมลพิษ และเรื่องร้องเรียนจากชุมชน
- การเปลี่ยนมอเตอร์ของปั๊มเครื่อง Mixing และถังผลิต ให้เป็นแบบกันระเบิด เพื่อลดอุบัติเหตุและความเสี่ยงจากการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรหรือเกิดประกายไฟ
ความมุ่งมั่นด้านอื่นๆ
การจัดการด้านสิทธิมนุษยชน
ไม่มีเรื่องร้องเรียนด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน
บริษัทยึดหลักการกำกับดูแลกิจการในการดูแลพนักงานและปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม โดยมุ่งมั่นให้พนักงานทุกคนได้รับสิทธิเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างทางกาย จิตใจ เชื้อชาติ ศาสนา เพศ ภาษา อายุ หรือสีผิว โดยเน้นการเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน พร้อมกระตุ้นให้พนักงาน มีส่วนร่วมในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงในองค์กรอย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

การพัฒนาและดูแลพนักงาน
พนักงานและบริษัทเติบโตไปด้วยกัน และร่วมสร้างสรรค์อนาคตที่มั่นคง
บริษัทมุ่งพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพและคุณธรรม โดยมีการฝึกอบรมหลักสูตรภาคบังคับ (Mandatory training) เพื่อให้พนักงานทุกคนทำงานไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงการพัฒนา ในด้านความรู้ (Knowledge Competency) และทักษะ (Skill Competency) ผ่านการฝึกอบรมในปฏิบัติงานจริง (OJT) เพื่อเสริมสร้างทักษะและความรู้ในการทำงาน

